สุขภาพ

อาหารที่มีฤทธิ์ด่างช่วยเปลี่ยนสมดุล pH ของร่างกาย ได้จริงหรือไม่

อาหารที่มีฤทธิ์ด่างช่วยเปลี่ยนสมดุล pH ของร่างกาย ได้จริงหรือไม่

ในช่วงนี้มีเรื่องราวมากมายที่กล่าวถึงประโยชน์ของอาหารด่างหรืออาหารที่มีค่า pH ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ในช่วงที่มากกว่า 7 ซึ่งในทางโภชนศาสตร์จะเรียกว่า อาหารอัลคาไลน์ ที่ได้รับการกล่าวขานว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับน้ำดื่มที่มีฤทธิ์เป็นด่าง ที่นำเสนอมากมายเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ที่ใส่ใจสุขภาพได้ซื้อหา ดังนั้นเราจะเปิดมุมมองในเชิงวิทยาศาสตร์ และนำเสนอข้อเท็จจริงในอีกแง่มุม ถึงผลลัพธ์และคุณประโยชน์ในเชิงของผลกระทบที่มีต่อร่างกายของผู้ที่รับประทานอาหารด่าง

อาหารที่มีฤทธิ์ด่างช่วยเปลี่ยนสมดุล pH ของร่างกาย ได้จริงหรือไม่

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกับอาหารด่าง ว่าเป็นอาหารประเภทอะไร ในทางวิทยาศาสตร์เมื่อเราบริโภคอาหารเข้าไป ร่างกายก็จะนำอาหารไปใช้ โดยผ่านกระบวนการเผาผลาญ เกิดปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงอาหารเหล่านี้ไปเป็นพลังงาน แล้วจะมีผลพลอยได้เป็นของเสีย ซึ่งจะถูกขับถ่ายออกทางระบบปัสสาวะ โดยของเสียที่เกิดขึ้นจากอาหารประเภทต่าง ๆ ก็จะส่งผลทำให้ค่า pH ในปัสสาวะของเราแตกต่างกัน โดยอาหารที่เรียกว่าอาหารด่างนั้น หลังจากเกิดปฏิกิริยาการเผาผลาญของเสียที่ได้จากอาหารประเภทนี้ จะทำให้ค่า pH ของปัสสาวะของเรา มีค่าเป็นด่างนั่นเอง 

ตัวอย่างอาหารให้ของเสียที่ทำให้ปัสสาวะของเราเป็นด่าง ได้แก่ อาหารที่ไม่ผ่านกระบวนการทั้งหลาย โดยเฉพาะผักสด ผลไม้ หรือน้ำผลไม้สกัดเย็น มันฝรั่ง ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์นมและโยเกิร์ต สมุนไพรต่าง ๆ น้ำมันมะกอก น้ำมันอะโวคาโด เมล็ดเจีย เมล็ดเฟล็กซ์

ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าการเผาผลาญอาหารเหล่านี้จะส่งผลกับค่า pH ในปัสสาวะ แต่ในความเป็นจริง ในเรื่องของการรักษาสมดุลของค่า pH ซึ่งจะส่งผลกับสุขภาพโดยตรงนั้น จะไม่ใช่ค่า pH ในน้ำปัสสาวะ แต่เป็นค่า pH ในกระแสเลือด ซึ่งโดยปกติเลือดของคนที่มีสุขภาพสมบูรณ์จะอยู่ในช่วงค่า pH ประมาณ 7.36 ถึง 7.44 หรือ เรียกได้ว่าเลือดจะมีลักษณะที่เป็นด่างเล็กน้อยอยู่เสมอ ในกรณีที่ค่าสมดุล pH ในเลือดของคุณไม่เหมาะสม คือมีลักษณะเป็นกรด จะเสี่ยงกับการเกิดอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษา อีกทั้งยังเป็นบ่อเกิดของโรคบางอย่างอย่าง เช่น โรคเบาหวาน 

แต่ร่างกายของคนเราก็มีกลไกในการที่จะคงรักษาระดับค่า pH ของกระแสเลือดให้คงที่เป็นปกติอยู่แล้ว ดังนั้นหากเราหยิบยกประเด็นที่ว่า อาหารด่างช่วยรักษาสมดุลของค่า pH ของร่างกาย และทำให้สุขภาพดีนั้น จึงถือว่าไม่ตรงกับกลไกโดยปกติของร่างกายนัก

เมื่อพิจารณาถึงประเภทชนิดของอาหารด่างตามที่กล่าวข้างต้น เราจะพบว่าอาหารเหล่านี้ดีต่อสุขภาพอย่างแน่นอน แต่ไม่ใช่สำหรับประเด็นการรักษาสมดุลค่า pH ของร่างกาย แต่ดีกับร่างกายในแง่เป็นอาหารที่ไม่ผ่านกระบวนการแปรรูป มีกากใยสูง ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นจะต้องไปเสียเงินเพิ่มเพื่อซื้อน้ำด่างหรือรับประทานแต่อาหารด่างเท่านั้น การรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ปรุงสุก สดใหม่ จึงเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ต่อความมีสุขภาพที่ดีได้มากกว่านั่นเอง

สร้างสุขภาพดีแบบยั่งยืนด้วยการจัดสรรตารางชีวิตให้สมดุล

สร้างสุขภาพดีแบบยั่งยืนด้วยการจัดสรรตารางชีวิตให้สมดุล

เคยไหมที่ทำงานยุ่งจนไม่มีเวลาในการพักผ่อนหรือเกิดความเครียดในระดับที่เกินพอดีทำให้ส่งผลกระทบต่อร่างกาย หลายคนเกิดอาการเจ็บป่วยทางร่างกายหรือในบางรายก็มีอาการทางด้านสุขภาพใจ ซึ่งจริง ๆ แล้วปัญหาเหล่านี้ที่เกิดขึ้นควรที่จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยจะขอแนะนำการสร้างสุขภาพที่ดีด้วยการจัดสรรตารางชีวิตให้มีความสมดุลและเหมาะสม จะมีวิธีอะไรบ้างนั้นตามไปดูกันได้เลย

  • จัดการเคลียร์งานที่ต้องทำให้เสร็จภายในเวลางานเพื่อจะได้ไม่ต้องเบียดบังเวลาพักผ่อน ทั้งนี้ต้องเรียงลำดับความสำคัญของงานแต่ละอย่างว่าอะไรที่เร่งด่วนมีกำหนดส่งงานที่ชัดเจน ไม่สามารถเลื่อนได้เพื่อที่จะได้วางแผนทำงานนั้น ๆ ก่อนไม่มาเร่งงานเอาในวันสุดท้าย เพราะจะทำให้เกิดความเครียดและไม่มีเวลาพักผ่อนเท่าที่ควร แม้ว่าดูจะเป็นเหมือนเรื่องง่าย ๆ แต่ก็ต้องอาศัยวินัยและการฝึกวางแผน ฝึกปฏิบัติอย่างเป็นประจำ
  • ปรับเวลาการนอนหลับพักผ่อนให้มีความเหมาะสม แม้ว่าเป็นวันหยุดแต่การนอนดึกตื่นสายก็ไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป ควรจัดสรรเวลาในการนอนให้เพียงพอเพื่อที่จะได้ตื่นเช้ามาอย่างสดใส ทำงานหรือใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างสูตรที่หลายคนนำไปใช้กันนั่นก็คือ 8:8:8 แบ่งเป็นการนอนหลับพักผ่อน 8 ชั่วโมง การทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ในแต่ละวันอีก 8 ชั่วโมง และชั่วโมงการทำงานจริงจังอีกประมาณ 8 ชั่วโมง ใครที่สามารถทำได้ดังสูตรข้างต้น ความเครียดหรือปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ก็สามารถดีขึ้นได้อย่างแน่นอน
  • วางแผนชีวิตในหนึ่งสัปดาห์ หนึ่งเดือนหรือหนึ่งปี เพื่อให้สามารถเห็นเป้าหมายของตัวเองได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ชีวิตในแบบที่ต้องการเป็นแบบไหน ต้องทำอะไรให้สำเร็จบ้างในช่วงระยะเวลานั้น ๆ รวมถึงเป้าหมายทางสุขภาพที่ดีด้วย เมื่อได้วางแผนอย่างจริงจังจะทำให้เราใช้ชีวิตได้ดียิ่งขึ้น เป็นประโยชน์ทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ  
  • ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละประมาณ 3-5 ครั้งเพื่อส่งเสริมให้สุขภาพกายแข็งแรงมากยิ่งขึ้น การออกกำลังกายที่เหมาะสมก็ถือเป็นการผ่อนคลายที่ดีมาก ๆ วิธีหนึ่ง เนื่องด้วยจะมีการหลั่งสารที่ทำให้มีความสุข ใครที่อยากมีจิตใจสดชื่นแจ่มใสและหุ่นเฟิร์มล่ะก็ต้องหมั่นดูแลตัวเองด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ

ไม่ยากเลยใช่ไหมสำหรับวิธีในการจัดสรรเวลาในตารางชีวิตให้เกิดความสมดุล แต่ละวิธีเป็นวิธีที่สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ชีวิตของแต่ละคนได้จริง ซึ่งสำหรับใครที่ยังไม่สามารถทำได้ทุกข้อก็สามารถที่เลือกข้อที่สามารถเหมาะสมสำหรับตนเองเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้ รับรองว่าสุขภาพดี ๆ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอย่างแน่นอน

13 อาหารตับสุขภาพดี

ตับ คือหนึ่งในอวัยวะสำคัญของร่างกายที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีหน้าที่สำคัญที่สุดคือ กรองและกำจัดของเสียรวมถึงสารพิษตกค้างจากอาหารที่รับประทานเข้าไป และช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย และยังมีหน้าที่สำคัญอื่น ๆ อีกมาก จึงเป็นความจำเป็นที่เราจะต้องให้ความสำคัญในการปกป้องดูแลตับของเราให้แข็งแรงที่สุด และหนึ่งในเรื่องสำคัญนั้นก็คือ การกิน เราจะกินอะไร และอย่างไรให้ตับสุขภาพดี ไปดูกัน 

  1. กลุ่มผักเป็นหัว เช่น กะหล่ำปลี ช่วยกระตุ้นการสร้างกลูต้าไธโอน,บร็อคโคลี มีสารซัลโฟราเฟน ทั้งสองชนิดนี้ช่วยทำหน้าที่กำจัดสารพิษในตับได้เป็นอย่างดี 
  2. กลุ่มผักใบเขียว เช่น ผักโขม ผักกาดหอม ช่วยป้องกันการสะสมของโลหะหนัก กำจัดสารพิษ
  3. กลุ่มพืชตระกูลหัว เช่น บีทรูท,แครอท,มันเทศ มีกลูโคชิโนเลตช่วยต่อต้านสารพิษ
  4. กลุ่มผลไม้ เช่น อะโวคาโด อุดมด้วยกลูต้าไธโอนและกรดไขมันโอเมก้า 3 และ 6, มะขามป้อม มีวิตามินซีสูงกว่าแอปเปิ้ลถึง 160 เท่า ช่วยรักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ป้องกันพิษโลหะหนัก และลดความเสี่ยงมะเร็งตับ,ลิ้นจี่ อุดมไปด้วยโปรตีน ไขมัน กลูโคส และกรดซิตริก บำรุงตับชั้นเลิศ
  5. อาหารที่มีในกรดไขมันโอเมก้า 3 (Omega3) เช่น น้ำมันคาโนลา น้ำมันรำข้าว ถั่วเหลือง ถั่วแระ เนื้อปลาปลาทูนา แซลมอน เมล็ดแฟลกซ์  นอกจากบำรุงตับแล้วยังช่วยลดการอักเสบของตับอีกด้วย 
  6. กระเทียม มี “อัลลิซิน” ช่วยเผาผลาญไขมัน ลดคอเลสเตอรอลในเลือด และการเกิดอนุมูลอิสระที่ทำร้ายตับ กระตุ้นให้ตับผลิตเอนไซม์ขับสารพิษ “อัลลิซินและซีลีเนียม” ยังเป็นตัวดีท๊อกซ์ธรรมชาติกำจัดพิษจากตับ
  7. น้ำเปล่าดีที่สุด ดื่มให้เพียงพอ อย่างน้อย 1.5-2 ลิตร 
  8. กาแฟดำ มี “คาเฟอีน” ช่วยชะลอการเกิดพังผืดในตับ แต่ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม
  9. อาหาร-เครื่องดื่มชะลอการสะสมไขมัน ลด และต้านการอักเสบในตับ เช่น ชาเขียว,ถั่วเหลือง มี“จีนิสทีน”ช่วยลดภาวะตับคั่งไขมัน,ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่   
  10. ลด-เลี่ยง อาหารสำเร็จรูป  อันตรายอยู่ในกระบวนการปรุงแต่ง การยืดอายุอาหาร รวมถึงบรรจุภัณฑ์ แฝงไว้ด้วยสารก่อมะเร็ง สารโลหะหนัก ที่จะทยอยทำร้ายตับไปทีละน้อย 
  11. ลด-เลี่ยง การบริโภคไขมันอิ่มตัว ซึ่งมีอยู่ในอาหารประเภท เนื้อสัตว์ติดมัน น้ำมันมะพร้าว กะทิ 
  12. ลด-เลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดพยาธิใบไม้ในตับ เช่น ปลาร้า เนื้อสัตว์สุกๆดิบๆ 
  13. น้ำตาลฟรุกโตสตัวทำร้ายตับ เป็นน้ำตาลที่พบในผักและผลไม้และเป็นน้ำตาลที่เติมในเครื่องดื่ม  เช่น น้ำอัดลม  น้ำผลไม้กล่อง กินแล้วจะส่งตรงไปที่ตับและสะสมเป็นไขมันพอกอยู่ที่ตับ

นอกจากการกินอาหารบำรุง และป้องกันความเสียหายของตับแล้ว ยังต้องหมั่นออกกำลังกาย และพักผ่อนอย่างเพียงพอ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการดูแลในทุกอวัยวะของร่างกายมนุษย์ อีกอย่างการเปิดดูฟุตบอลก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยลดความเครียดและสามารถลุ้นสนุกกับเกมไปด้วยจากการลุ้นผล

นอกจากการกินอาหารบำรุง และป้องกันความเสียหายของตับแล้ว ยังต้องหมั่นออกกำลังกาย และพักผ่อนอย่างเพียงพอ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการดูแลในทุกอวัยวะของร่างกายมนุษย์ อีกอย่างการเปิดดูฟุตบอลก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยลดความเครียดและสามารถลุ้นสนุกกับเกมไปด้วยจากการลุ้นผล

นอกจากการกินอาหารบำรุง และป้องกันความเสียหายของตับแล้ว ยังต้องหมั่นออกกำลังกาย และพักผ่อนอย่างเพียงพอ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการดูแลในทุกอวัยวะของร่างกายมนุษย์ อีกอย่างการเปิดดูฟุตบอลก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยลดความเครียดและสามารถลุ้นสนุกกับเกมไปด้วยจากการลุ้นผล

นอกจากการกินอาหารบำรุง และป้องกันความเสียหายของตับแล้ว ยังต้องหมั่นออกกำลังกาย และพักผ่อนอย่างเพียงพอ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการดูแลในทุกอวัยวะของร่างกายมนุษย์ อีกอย่างการเปิดดูฟุตบอลก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยลดความเครียดและสามารถลุ้นสนุกกับเกมไปด้วยจากการลุ้นผล 888 livescore ของเว็บวิเคราะห์บอล888.com ที่รวมเอาทุกอย่างมาไว้ที่เดียว

6 โรคตาที่เกิดได้กับทุกคน

6 โรคตาที่เกิดได้กับทุกคน

โรคที่เกิดขึ้นกับดวงตามีหลายโรค ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากดวงตาเสื่อมไปตามวัย และเกิดจากการเร่งให้เสื่อมก่อนวัยจากการใช้ดวงตาหนักเกินไป โดยเฉพาะวิถีชีวิตคนยุคใหม่ที่ต้องใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์ มือถือ หรือแท็บเล็ตเป็นประจำ ลองมาดูกันว่ามนุษย์มีความเสี่ยงโรคเกี่ยวกับดวงตาอะไรบ้าง

  1. โรคซีวีเอส หรือ โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม หรือ โรคตาแห้ง จะมีอาการปวดตา แสบตา ระคายเคือง ตามัว เหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในตา อาจปวดหัวร่วมด้วย เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเกิน 2 ชั่วโมง มีอาการตาแห้ง พบได้ 75% ของคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ และอาจเกิดจากความผิดปกติของต่อมไขมันที่เปลือกตา และสาเหตุอื่น พบบ่อยทั้งในกลุ่มคนทำงานออฟฟิศและผู้สูงวัย
  2. โรคจอประสาทตาเสื่อม เป็นโรคสูญเสียการมองเห็นบริเวณศูนย์กลางของจอประสาทตา ยังพอมองเห็นได้จากส่วนรอบข้างดวงตาแต่ภาพพร่ามัว บิดเบี้ยว พบได้ในผู้สูงอายุ 50-60 ปีขึ้นไป และในกลุ่มวัยทำงานที่ต้องจ้องจอนาน ๆ ซึ่งเป็นช่องทางการรับแสงสีฟ้าเข้ามาทำลายจอประสาทตาโดยตรง
  3. โรคต้อหิน เกิดจากความเสื่อมของเส้นประสาทตา ขั้วประสาทตาถูกทำลายจากความดันในลูกตาสูง มีอาการปวดตา ตามัว เห็นรุ้งรอบดวงไฟ และอาจปวดหัว คลื่นไส้ร่วมด้วย มีอันตรายถึงขั้นตาบอดได้ ส่วนใหญ่พบในผู้สูงวัย และเพิ่มขึ้นในกลุ่มคนวัยต่ำกว่า 30 ปี
  4. วุ้นตาเสื่อม หรือ น้ำวุ้นตาตกตะกอน จะมองเห็นเป็นจุดลอย เมื่อมองผนังสีขาวจะเห็นเป็นจุดดำหรือเทาลอยไปมามีรูปร่างวงกลม หรือรูปทรงอื่น ตามัวลงเหมือนถูกบังภาพ,เห็นแสงวาบคล้ายฟ้าแลบ เสื่อมตามวัยไม่ต้องรักษา พบในอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และในคนที่จ้องหน้าจอมือถือ คอมพิวเตอร์ อ่านหนังสือ เล่นเกมนาน ๆ
  5. โรคต้อกระจก เป็นภาวะที่เลนส์ตามีความขุ่นมัว แสงผ่านเข้าดวงตาลดลงทำให้จอประสาทตารับภาพได้ไม่ชัดเจน การมองเห็นลดลงเรื่อย ๆ ส่วนใหญ่พบในผู้สูงวัย อายุมากกว่า 50-60 ปี ขึ้นไป แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นกับวัยอื่น ๆ ตั้งแต่เด็กแรกเกิดหรือกลุ่มคนอายุน้อยที่ใช้สเตียรอยด์
  6. ต้อเนื้อ ต้อลม มีลักษณะเป็นเนื้อนูนที่เยื่อตาขาวข้างกระจกตาดำ ถ้าอยู่เฉพาะที่เยื่อบุตาขาว เรียกว่าต้อลม แต่ถ้าเข้ามากินพื้นที่กระจกตาดำเรียกว่า ต้อเนื้อ เยื่อบุตาเสื่อมทำให้สายตาเอียง และตามัวมากขึ้น ต้อเนื้อพบบริเวณหัวตามากกว่าหางตา และโอกาสเป็นมากขึ้นหากโดนแสงแดดจ้า ปะทะลม ฝุ่น ควัน ผงทรายพบมากในผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป

แม้ดวงตาจะต้องเสื่อมไปตามวัย แต่เราสามารถป้องกันดูแลดวงตาให้มีอายุขัยยืนยาว สุขภาพดีอยู่เคียงคู่กับเราได้โดยไม่มีอุปสรรคในการมองเห็นด้วยการใช้สายตาอย่างเหมาะสม อย่าจ้องดูผลบอลผ่านมือถือเป็นเวลานานๆ และพยายามหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงทุกชนิด หากสุดวิสัยต้องใส่ใจเร่งรักษาเสียตั้งแต่เนิ่นๆป้องกันการลุกลามจนถึงขั้นสูญเสียดวงตาได้

กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ สิ่งที่ควรทำหากต้องการมีสุขภาพดี

กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ สิ่งที่ควรทำหากต้องการมีสุขภาพดี

การมีสุขภาพที่ดีไม่มีโรคภัยรุมเร้าคงเป็นความฝันของใครหลายๆคน การที่เราจะมีร่างกายที่แข็งแรงได้นั้นนอกจากการออกกำลังกายแล้ว อาหารการกินก็สำคัญเช่นกัน เพราะร่างกายของเรานั้นต้องการอาหารเพื่อเข้าไปสร้างพลังงานให้แก่ร่างกาย หลายครั้งที่เรามักจะจัดหนักกับอาหารจำพวกบุฟเฟ่ต์ หมูกระทะ ชาบูหรือปิ้งย่าง จนเราได้รับสารอาหารมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ หรือบางครั้งเราไปเที่ยวกับเพื่อน มีการจัดปาร์ตี้สังสรรค์ ในงานแบบนี้เราก็คงหนีพวกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่พ้น สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง กระดูกพรุน โรคอ้วนและโรคมะเร็งบางชนิด และในปัจจุบันอัตราการเสียชีวิตของคนทั่วโลกนั้นมีสาเหตุมาจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เราจึงต้องหาวิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงต้นเหตุของการเกิดโรคโดยทำวิธีเหล่านี้

ร่างกายของเราต้องการสารอาหารหลัก เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และสารอาหารรอง เช่น วิตามิน และแร่ธาตุ เพื่อที่เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายจะดูดซึมสารอาหารและพลังงานต่าง ๆไปใช้ในเรื่องการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย สัดส่วนของอาหารที่ควรได้รับในแต่ละวันโดยแบ่งตามความจำเป็น ดังนี้

สัดส่วนของอาหารที่ควรได้รับในแต่ละวัน

ขั้นที่ 1 กลุ่มคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าวขาว ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวโอ๊ต โฮลวีท โฮลเกรน ขนมปัง เส้นพาสต้า และน้ำตาล ควรกินวันละ 8–12 ทัพพี เพราะข้าวนั้นเป็นอาหารหลักของคนไทย คนส่วนมากชอบที่จะทานข้าวขาวที่ผ่านการขัดสีแล้ว แต่ในความเป็นจริงเราควรเลือกข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวกล้อง และข้าวซ้อมมือ เพราะเป็นข้าวที่มีสารอาหารมากกว่าข้าวขาว หรืออาจเลือกอาหารประเภทแป้งชนิดอื่นมาทดแทนได้ เช่น ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน บะหมี่ ขนมปัง เผือก และมัน

ขั้นที่ 2 วิตามินและแร่ธาตุ เช่น มะม่วง ฝรั่ง ส้ม มะเขือเทศ และผักใบเขียว ควรกินผักวันละ 4–6 ทัพพี และกินผลไม้วันละ 3–5 ส่วน ผักและผลไม้นั้นให้พลังงานค่อนข้างต่ำ ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก ลดความดันโลหิต คอเลสเตอรอล ต้านอนุมูลอิสระ บำรุงสายตา บำรุงหัวใจ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ มะเร็ง และโรคหลอดเลือดสมอง

ขั้นที่ 3 โปรตีน เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อเป็ด เนื้อไก่ เนื้อปลา ไข่ และนม ควรกินเนื้อสัตว์วันละ 6–12 ช้อนกินข้าว การเลือกเนื้อสัตว์ควรเป็นเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันหรือติดมันน้อยจะช่วยในเรื่องของการสะสมไขมันในร่างกาย และดื่มนมวันละ 1–2 แก้ว นมจะช่วยในเรื่องของการเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ชะลอการเสื่อมของกระดูกหรือโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ

ขั้นที่ 4 ไขมัน เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมะพร้าว น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย ไขมัน ช่วยละลายและดูดซึมวิตามินหลายชนิด แต่ไม่ควรทานมากจนเกิดไป เพราะหากทานอาหารประเภทไขมันมากจนเกิดไปอาจเกิดปัญหาในเรื่องของระดับคอเลสเตอรอลสูงและเกิดโรคอ้วนได้ ควรทานไขมันไม่เกิน 16 ช้อนชาต่อวัน

นอกจากนี้แล้วอย่าลืมหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด เช่น มีรสหวาน หรือเค็มจัด ทานอาหารที่ไม่มีการปนเปื้อน เก็บอาหารให้ถูกสุขลักษณะ และสุดท้ายสำคัญที่สุดคือ งดหรือลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ เพียงเท่านี้เราก็มีสุขภาพดีได้แล้ว

สุขภาพดี เริ่มต้นด้วยการตรวจสุขภาพ

สุขภาพดี เริ่มต้นด้วยการตรวจสุขภาพ

“การไม่มีโรคคือลาภอันประเสริฐ” แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าร่างกายของเราไม่มีอาการผิดปกติ การตรวจสุขภาพประจำปี คือ สิ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงที่อาจลุกลามในร่างกายโดยที่เราไม่รู้ตัว เนื่องจากในปัจจุบันสภาพแวดล้อม อากาศและโรคระบาดสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว

ควรตรวจสุขภาพประจำปีตอนอายุเท่าไหร่?

ในความเป็นจริงแล้วการตรวจสุขภาพประจำปีสามารถเริ่มได้ในทุกช่วงอายุแต่หลังจากอายุ 30 ปีขึ้นไป การตรวจสุขภาพประจำปีมีความจำเป็นมาก เพราะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ มากขึ้น เนื่องจากมีความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายแรงมากกว่าผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี

รายละเอียดโปรแกรมตรวจสุขภาพเบื้องต้นแบ่งตามช่วงอายุ

อายุต่ำกว่า 30 – 60 ปีขึ้นไป : เริ่มต้นด้วยการซักประวัติสุขภาพของตัวเองและคนในครอบครัว, ตรวจความดันโลหิต, ตรวจดัชนีมวลกาย, ตรวจความผิดปกติในเม็ดเลือด, ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด, ตรวจระดับไขมันในเลือด, ตรวจระดับกรดยูริกเพื่อเช็คความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกาต์, ตรวจการทำงานของระบบการทำงานภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต หัวใจและอื่น ๆ, ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งในทางเดินอาหาร, มะเร็งปากมดลูก รวมถึงตรวจปัสสาวะและอุจจาระเพื่อใช้วินิจฉัยในการหาเชื้อโรคในทางเดินอาหาร

อายุ 40 ปีขึ้นไป : ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์, ตรวจสุขภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพานและคลื่นสะท้อนความถี่สูง, ตรวจหามะเร็งเต้านม, ตรวจหลอดเลือดใหญ่ที่คอ, ส่องกล้องคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

อายุ 50 ปี ขึ้นไป : ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อน, มะเร็งถุงน้ำดี, มะเร็งเต้านม, มะเร็งต่อมลูกหมาก

ค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพประจำปี

ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการซื้อแพ็กเกจตรวจสุขภาพประจำปีของแต่ละโรงพยาบาลจะมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับรายละเอียด, เพศ, อายุและเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ของแต่ละแห่ง โดยส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มต้นที่ประมาณหลักพัน – หลักหมื่น ทั้งนี้หากมีสิทธิประกันสังคมสามารถใช้สิทธิตรวจสุขภาพประจำปีฟรี! ได้ถึง 14 รายการ คือ การตรวจคัดกรองการได้ยิน, การตรวจเต้านม, ตรวจสุขภาพตา, ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด, ตรวจปัสสาวะ, ตรวจน้ำตาลในเลือด, ตรวจการทำงานของไต, ตรวจไขมันในเลือด, ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ, ตรวจมะเร็งปากมดลูก, เอกซเรย์ปอดและตรวจเลือดในอุจจาระ สำหรับผู้ที่ต้องการใช้สิทธิประกันสังคมตรวจสุขภาพประจำปี สามารถตรวจสอบสิทธิได้ที่สถานพยาบาลตามสิทธิได้ด้วยตัวเอง

การดูแลสุขภาพร่างกายเป็นประจำ สังเกตอาการผิดปกติของร่างกายและรีบปรึกษาแพทย์จะช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรงตามช่วงวัย ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงได้

สาระสุขภาพ “วิตามิน” ที่คุณแม่ให้นมควรรับประทาน

สาระสุขภาพ วิตามิน ที่คุณแม่ให้นมควรรับประทาน

จากประสบการณ์ตรงของการเป็นคุณแม่มือใหม่ พบว่า “การปั๊มนมหรือให้นมลูก” เป็นช่วงเวลาที่ทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อนล้า หิวและกระหายน้ำมากกว่าปกติ เมื่อเกิดข้อสงสัยว่าอาการเหล่านี้ผิดปกติหรือไม่? คุณแม่ก็ได้ไปหาข้อมูลพบว่า “ในช่วงระหว่างการปั๊มนมร่างกายจะต้องใช้พลังงานในการผลิตน้ำนมออกมาจากร่างกายเทียบเท่ากับการออกกำลังกาย 15 – 20 นาที” (อ้างถึง ผลการวิจัย a researcher at the University of Oxford ที่มี Dr. Kirsty Bobrow เป็นหัวหน้าวิจัย อ่านเพิ่มเติมได้ที่: https://www.gacd.org/news/2018-01-17-researcher-spotlight-kirsten-bobrow) จึงไม่น่าแปลกใจหากคุณแม่ปั๊มนมแล้วจะมีอาการหิวมากกว่าปกติ

นอกจากอาการเหนื่อยล้าจากการปั๊มนม คุณแม่หลายคนยังพบว่ามีอาการผมร่วงเยอะ ผิวแห้งเสีย ใบหน้าดูหมอง เพราะร่างกายได้รับวิตามินไม่เพียงพอ การรับประทานวิตามินเสริมจึงเป็นตัวช่วยเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ผลิตน้ำนมที่มีคุณภาพให้กับลูกน้อย

“วิตามิน” ที่คุณแม่ให้นมควรรับประทาน

Blackmores 9 Plus Formula + Calcium วิตามินรวมจากประเทศออสเตรเลียที่ออกแบบมาเพื่อคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์และให้นมบุตร อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย ประกอบด้วย กรดโฟลิก (folic acid), ไอโอดีน (iodine), เหล็ก (iron), น้ำมันปลา (fish oil), กลุ่มวิตามิน B (vitamin B group), วิตามิน D (vitamin D), วิตามิน C (vitamin C), เบต้าแครอทีน, nicotinamide และสังกะสี (zinc) ปริมาณบรรจุ 60 แคปซูล

Interpharma Multivitamin วิตามินเม็ดฟู่จากประเทศเยอรมนีที่มีส่วนประกอบของ วิตามินซี, วิตามินบีรวม, วิตามินอีและไบโอติน ที่มีส่วนช่วยเพิ่มพลังงานให้กับร่างกายที่ต้องผลิตน้ำนม วิธีรับประทานง่าย ใส่เม็ดฟู่ลงในแก้วที่ใส่น้ำเตรียมไว้ คนให้วิตามินละลายไปกับน้ำ แล้วดื่ม ปริมาณบรรจุ 20 เม็ด

DHC-Supplement Vitamin B-mix 60 Days วิตามินบีรวมผสานอีโนซิตอลและกรดโฟลิกจาก DHC ที่มีประโยชน์ในการช่วยบำรุงร่างกาย ระบบประสาท ช่วยฟื้นฟูร่างกายที่อ่อนเพลียจากการให้นม ซึ่งการได้รับวิตามินบีในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยกระตุ้นระบบการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต น้ำตาลและโปรตีนได้ดีขึ้น ปริมาณบรรจุ 120 เม็ด

Giffarine Nutri folic อุดมไปด้วยส่วนผสมของกรดโฟลิก, วิตามินบีรวมและวิตามินซี ช่วยในการบำรุงสุขภาพร่างกาย ระบบประสาทและเลือดให้ร่างกายแข็งแรง ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่รู้สึกอ่อนเพลียจากการให้นม รับประทานเพียง 1 เม็ดต่อวันก็เพียงพอ ปริมาณบรรจุ 60 เม็ด

Haemovit-GOLD วิตามินรวมที่ช่วยในการกระตุ้นร่างกายให้สดชื่น เหมาะสำหรับคุณแม่ให้นม ลดการอ่อนแรง อ่อนล้าทั้งสายตาและร่างกาย ทำให้ระบบประสาทและสมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รับประทานครั้งละ 1 เม็ด ปริมาณบรรจุ 30 เม็ด

คุณแม่ให้นมควรดูแลสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรง เพื่อให้มีแรงในการปั๊มนมและผลิตน้ำนมที่มีคุณภาพ ส่งผลดีต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของลูกน้อย

พ่อแม่ควรรู้! โรคไข้หวัดใหญ่ ภัยร้ายฤดูฝน – ฤดูหนาว ของลูกน้อย

ข้อควรปฏิบัติเมื่อลูกน้อยเป็นไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่เป็นเชื้อไวรัสที่มีทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการใกล้เคียงกับไข้หวัดปกติเป็นอย่างมาก คือ มีอาการตัวร้อน เป็นไข้ ไอ จาม หรือน้ำมูกไหล ซึ่งลักษณะอาการที่เหมือนกันทำให้ผู้ปกครองหลายคนชะล่าใจจนปล่อยให้เด็ก ๆ มีอาการหนักจึงไปพบแพทย์ ดังนั้นการสังเกตอาการจึงเป็นสิ่งที่ช่วยลดความรุนแรงของอาการเจ็บป่วยได้

ลักษณะอาการโรคไข้หวัดใหญ่

มีไข้สูงติดต่อกันหลายวัน หากพบว่าเด็กมีไข้สูงติดต่อกันหลายวัน แม้ว่าจะกินยาและเช็ดตัวเป็นประจำก็ไม่มีทีท่าว่าไข้จะลดอาจหมายความว่าลูกน้อยกำลังป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ก็เป็นได้

มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อร่วมด้วย อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือเจ็บเนื้อตัวเมื่อถูกสัมผัสเป็นหนึ่งในลักษณะสำคัญของโรคไข้หวัดใหญ่

อาการไอแห้ง แม้ว่าไข้หวัดปกติและไข้หวัดใหญ่จะมีอาการไอเหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงที่อาการไอในไข้หวัดใหญ่จะมีลักษณะไอแห้ง ไม่มีเสมหะ

มีอาการคัดจมูก หรือน้ำมูกไหล แม้ว่าไข้หวัดใหญ่จะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลแต่ไม่มีอาการแน่นหน้าอก หรือหายใจเหนื่อยหอบ หากพบว่ามีอาการดังกล่าวร่วมด้วยอาจเป็นไปได้ว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคโควิด – 19 ได้

ข้อควรปฏิบัติเมื่อลูกน้อยเป็นไข้หวัดใหญ่

เมื่อพบว่าลูกน้อยมีลักษณะอาการของไข้หวัดใหญ่ คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองควรปฏิบัติตัว ดังนี้

หมั่นเช็ดตัวลดไข้ วิธีการเช็ดตัวลดไข้ที่ถูกต้องควรเช็ดย้อนแนวเส้นขนอย่างรวดเร็วด้วยน้ำเปล่าอุณหภูมิห้อง แต่หากไข้ยังไม่ลดควรอาบน้ำด้วยน้ำอุณหภูมิปกติ หรืออุ่นกว่าปกติเพียงเล็กน้อยโดยทันที สาเหตุที่ไม่ใช้น้ำอุ่นในการเช็ดตัวหรืออาบน้ำให้เด็กที่ติดไข้หวัดใหญ่เพราะทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นและเสี่ยงต่อการช็อกได้

รับประทานยาลดไข้ เพื่อป้องกันการเกิดไข้สูงที่เสี่ยงต่อการช็อกควรให้ลูกน้อยรับประทานยาเพื่อช่วยลดไข้เพราะจะทำให้ไข้ลดลงเร็วยิ่งขึ้น

หมั่นให้เด็กจิบน้ำบ่อย ๆ ในช่วงที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นทำให้เด็กขาดน้ำได้ คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นให้เด็กจิบน้ำบ่อย ๆ หรือใส่เกลือแร่ลงไปจะช่วยลดการขาดน้ำได้

พาลูกน้อยไปพบแพทย์ เนื่องจากอาการของไข้หวัดใหญ่จะไม่รุนแรงแต่สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ผู้ปกครองจึงควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์ด้วย

เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดโรคไข้หวัดใหญ่และลดความรุนแรง ผู้ปกครอง คุณพ่อ คุณแม่ควรพาเด็กไปฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข นอกจากนี้การสวมใส่ผ้าปิดปากและหมั่นล้างมือบ่อย ๆ เป็นวิธีที่ช่วยลดการติดโรคไข้หวัดใหญ่ได้

วิธีการดูแลสุขภาพ หลังหายจากโควิด

วิธีการดูแลสุขภาพ หลังหายจากโควิด

ภายหลังจากรักษาตัวจากอาการ โควิด-19 จนหายดีแล้ว นอกจากปอดแล้วยังมีอวัยวะที่มีโอกาสได้รับผลกระทบจากเชื้อโรคชนิดนี้โดยตรง อวัยวะบางชนิดอาจถูกทำลายไปบางส่วน ส่งผลให้ระบบการทำงานของร่างกายส่วนอื่น ๆ อย่างหัวใจและหลอดเลือด และสมรรถภาพทางร่างกายโดยรวมได้รับผลกระทบตามไปด้วย เพราะภาวะการติดเชื้อโควิด-19 มักส่งผลให้ร่างกายเกิดภาวะอักเสบของอวัยวะหลายระบบ (Multisystem Inflammatory Syndrome: MIS) ดังนั้นแม้ว่าผู้ป่วยจะรักษาตัวจนหายดีแล้ว ก็ยังมีโอกาสที่จะหลงเหลืออาการแสดงบางอย่างได้ เกิดเป็นอาการที่เรียกว่าภาวะลองโควิด

ภาวะลองโควิด’ (Long Covid) หรือที่เรียกว่า Post-Covid Syndrome คืออาการที่มีลักษณะคล้ายกับตอนที่ติดเชื้อโควิด-19 อยู่ หรืออาจเป็นอาการใหม่แบบที่ผู้ติดเชื้อไม่เคยเป็นมาก่อนได้เช่นกัน ยิ่งในกรณีของผู้ติดเชื้อที่มีอาการหนักจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลเป็นเวลานาน ๆ ก็ยิ่งมีโอกาสได้รับผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวมากยิ่งขึ้น แต่แม้ว่าจะเป็นผู้ติดเชื้อที่มีอาการน้อย หรือแทบไม่มีอาการเลย ก็สามารถมีอาการลองโควิดได้เช่น โดยอาการที่เกิดขึ้นอาจยาวนานได้มากถึง 3 เดือนขึ้นไปอีกด้วย

ตัวอย่างอาการที่เรียกว่าลองโควิด

  1. อาการอ่อนเพลียแบบเรื้อรัง เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
  2. ใจสั่น หายใจได้ไม่เต็มอิ่ม รู้สึกแน่น ๆ ที่หน้าอก
  3. มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ สมองไม่สดชื่น ความทรงจำไม่ดีเหมือนก่อนติดเชื้อ
  4. ปวดตามข้อต่าง ๆ อาจรู้สึกเจ็บจี๊ด ๆ ตามเนื้อตัว หรือตามปลายมือปลายเท้า
  5. รู้สึกเหมือนมีไข้เกือบตลอดเวลา
  6. เกิดภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หรือเกิดผลกระทบต่อจิตใจหลังเผชิญกับสถานการณ์ป่วยที่รุนแรง (Post-Traumatic Stress Disorder)

สาเหตุการเกิดภาวะ Long Covid ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปสาเหตุที่มาของอาการ Long Covid ได้ชัดเจน แต่มีการข้อสันนิษฐานต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  1. เชื้อโควิด-19 อาจทิ้งร่องรอยความเสียหายเอาไว้ตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เมื่ออวัยวะเกิดความเสียหายก็จะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หากเกิดความเสียหายบริเวณสมอง อาจเกิดภาวะสมองล้า (Brain Fog Syndrome) หรือหากเกิดความเสียหายที่ปอด จะเกิดความผิดปกติขณะที่กำลังหายใจ เช่น หายใจถี่ ๆ เหนื่อยหอบได้ง่าย เป็นต้น
  2. ระบบการทำงานของภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ อาจเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ป่วยเคยมีภูมิคุ้มกันร่างที่แข็งแรง แต่เมื่อหายจากโควิด-19 แล้ว ภูมิคุ้มกันของร่างกายอาจหันมาทำลายเซลล์ในร่างกายของตนเองแทนได้
  3. หลงเหลือชิ้นส่วนของไวรัสโควิด-19 เอาไว้ในร่างกาย ซึ่งชิ้นส่วนเหล่านี้อาจยังทำงานอยู่หรือไม่ก็ได้ ซึ่งจะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จนเกิดอาการป่วยได้

แนวทางการฟื้นฟูร่างกายเมื่อเกิดภาวะ Long Covid เมื่อทราบเกิดอาการ Long Covid แนะนำให้ขอคำปรึกษาจากแพทย์ และผู้ป่วยควรดูแลร่างกายเพิ่มเติมเพื่อลดผลกระทบจากการอักเสบที่เกิดขึ้นจากโควิด-19 ด้วย ดังนี้

  1. กินอาหารที่ช่วยฟื้นฟูร่างกาย โดยเฉพาะอาหารประเภทโปรตีนมีส่วนในการซ่อม สร้าง และเสริมเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย จึงควรกินอาหารที่มีโปรตีนเป็นส่วนประกอบ อย่างเนื้อสัตว์ ปลา ไข่ และถั่วชนิดต่าง ๆ
  2. เลือกกินอาหารประเภทแป้งไม่ขัดสี อย่างข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต เพื่อลดอัตราการดูดซึมน้ำตาลที่เร็วเกินไป เพราะน้ำตาลจะกระตุ้นการอักเสบได้
  3. เน้นการกินผักและผลไม้ เพื่อให้ร่างกายได้สารอาหารที่ครบถ้วน
  4. ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม การออกกำลังกายจะช่วยฟื้นฟูร่างกายให้กลับมามีสมรรถภาพตามเดิมได้ แต่ต้องไม่หักโหมเกินไป ควรเริ่มจากท่าออกกำลังกายเบา ๆ เน้นการเคลื่อนไหวแบบช้า ๆ แต่นานให้มากที่สุด การเร่งรีบออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายอย่างรวดเร็ว จะส่งผลให้ปอด หรืออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทำงานหนักเกินไปได้

วิตามินที่คนนิยมในปัจจุบันมีอะไรบ้าง ?

วิตามินที่คนนิยมในปัจจุบันมีอะไรบ้าง

ในปัจจุบันการกินวิตามินและอาหารเสริมเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อช่วยให้เราดูอ่อนกว่าวัยและทำให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง เราเชื่อว่าไม่มีใครอยากป่วยและต้องไปหาหมอซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูง การกินวิตามินตั้งแต่อายุน้อยจึงเป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ดี

  1. วิตามินซี – วิตามินซีถือว่าเป็นสุดยอดแห่งวิตามินเพื่อความงาม ช่วยเรื่องของความขาวใสของผิวพรรณ ช่วยแก้ปัญหาความหมองคล้ำใบหน้าจากแดดและรอยแผลเป็นต่าง ๆ ให้จางลงได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ในด้านของสุขภาพภายในยังช่วยลดโอกาสเป็นโรคหวัดและภูมิแพ้ได้ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่ภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยได้
  2. น้ำมันปลา – น้ำมันปลาหรือ Fish Oil ถือว่าเป็นวิตามินที่เหมาะกับคนผิวแห้ง เพราะเพิ่มความชุ่มชื้นในชั้นผิวหนังได้เมื่อรับประทานต่อเนื่องไป 3-6 เดือนขึ้นไป ทั้งยังช่วยฟื้นฟูซ่อมแซมเซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้เป็นอย่างดี จึงเหมาะกับคนวัย 40 ปีขึ้นไปที่มีปัญหาผิวแห้งหยาบกร้านและสุขภาพเริ่มทรุดโทรมจากการทำงานหนักมาหลายปี
  3. Calcium – แคลเซียมเป็นวิตามินที่สำคัญต่อผู้สูงอายุ ช่วยในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงมากขึ้น จึงกล่าวได้ว่าเป็นวิตามินที่ป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้อย่างชัดเจน ในอดีตเราอาจได้รับจากการดื่มนมเป็นหลัก แต่ปัจจุบันมีแคลเซียมแบบเม็ดให้เลือกรับประทานได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น
  4. วิตามินเอ – Vitamin A ถือว่าเป็นตัวช่วยบำรุงสายตาที่จำเป็นในโลกยุคไอที ที่ผู้คนส่วนใหญ่ใช้เวลากับหน้าจอมือถือและคอมพิวเตอร์มากขึ้น วิตามินเอจะช่วยปกป้องจอประสาทตาให้ลดอันตรายจากรังสีสีฟ้าและแสงยูวีในแดดได้
  5. สังกะสี – สังกะสีจำเป็นต่อคนที่มีปัญหาสิว ทั้งเพศชายและหญิง แนะนำให้วัยรุ่นที่มีสิวอักเสบบ่อย ๆ หรือมีจุดด่างดำบนใบหน้าที่เกิดจากการแกะสิวหรือบีบสิวเม็ดใหญ่ รับประทานสังกะสีเพิ่มเป็นประจำทุกวัน จะลดโอกาสจะเป็นสิวซ้ำ ๆ และทำให้รอยต่าง ๆ จางลงได้อย่างรวดเร็ว
  6. วิตามินบี – เราใช้สมองในการคิดและวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ มากขึ้น ทำให้ต้องการวิตามินบี ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่ช่วยให้เซลล์ประสาททำงานได้ดียิ่งขึ้น คนที่ขาดวิตามินบีจะมีอาการอ่อนเพลีย สมองตื้อคิดอะไรไม่ออก และมีอาการชาปลายมือปลายเท้าได้ แนะนำให้คนวัยเรียนและวัยทำงานรับประทานเป็นประจำ

สุขภาพของเราสามารถทำให้แข็งแรงและฟื้นฟูได้ด้วยวิตามินอาหารเสริมหลากหลายชนิด เพียงเลือกที่เหมาะกับเราและรับประทานอย่างต่อเนื่องก็จะเห็นผลในทางที่ดีตามที่ต้องการ ที่สำคัญคือควรดูแลตัวเองตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้สุขภาพดีอยู่กับเราไปนาน ๆ